Learning Log (ในห้องเรียน)
ครั้งที่ 1
จากที่ได้เรียนมาสรุปได้ว่า
i + 1 = Comprehensible Input ซึ่ง i คือ input (ตัวนักเรียน) 1. คือตัวครู
ผลลัพธ์ที่ได้รับคือความรู้ความเข้าใจที่ได้จากครูและนักเรียน ซึ่งถ้าครูสอนดี
เนื้อหาเหมาะสมกับตัวนักเรียน และตัวนักเรียนเองกสามารถรับข้อมูลได้
ก็จะเท่ากับความสำเร็จ แต่ถ้าครูสอนเนื้อหาที่ไม่เหมาะกับนักเรียน
อาจจะง่ายกว่าหรือยากกว่าก็จะไม่ได้ผลสำเร็จ และก็ไม่เกิดการเรียนรู้ใดๆ ทั้งสิ้น
ซึ้งการที่ครูจะรู้ว่าเด็กเหมาะกับเนื้อหาใดนั้น
ก็จะมีเทคนิคหลายๆอย่างเพื่อที่จะพิสูจน์ เช่น การ pretest และข้อควรที่จะคำนึงถึงและสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับครูคือ
background knowledge ของผู้เรียน
กาล
คำกริยาในประโยคภาษาอังกฤษจะบอกถึงการกระทำให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อไร
ซึ่งจะแตกต่างกับประโยคภาษาไทยที่ไม่สามารถบอกกาลได้
บางกรณีอาจดูเวลาของการกระทำได้จากคำขายกิริยา ซึ่งมันจะเกิดปัญหาเวลาแปล ทำให้คำแปลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
ตัวอย่างประโยคเช่น
1.
He lived in Lampang for a year.
2.
He has lived in Lampang for a year.
ประโยคทั้งสองข้อ ใช้เวลาต่างกันและมีความหมายต่างกัน
1.
He lived in Lampang for a year.
ใช้กับกริยาเป็น
past simple มีความหมายว่า เขาเคยอยู่ลำปางมาก่อน 1
ปี อยู่เมื่อไรไม่ทราบ ทราบแต่ว่าอยู่มาก่อนเวลาที่พูดถึง
และตอนนี้เขาไม่ได้อยู่แล้ว
2.
He has lived in Lampang for a year.
ใช้กริยาเป็น present perfect มีความหมายว่า
เขาอยู่ลำปางมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี ตอนนี้เขาก็ยังอยู่
· สิ่งที่สำคัญในการแปลคือ ต้องสั้น กระชับ รัดกุม แต่ได้ความหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น