วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (ในห้องเรียน)
ครั้งที่ 10
Noun Clause
Noun Clause คือ ประโยคย่อยทำทำหน้าที่เสมือนคำนามหนึ่งคำอาจเป็นประธานหรือกรรมก็ได้ในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษผู้ส่งสารได้แก่ผู้พูดหรือผู้เขียนอาจต้องการสื่อสารข้อความที่มีรายละเอียดการอธิบายหรือขยายความอยู่ในข้อความที่เป็นประโยคเดียวกันซึ่งไม่อาจใช้คำนามเพียงคำเดียวหรือกลุ่มคำนามได้ในกรณีดังกล่าวส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยคอาจอยู่ใน รูปของประโยคอีกประโยคหนึ่งคือมีภาคประธานและภาคแสดง จึงมีลักษณะเหมือนประโยคย่อย ที่ซ้อนอยู่ภายใน โดยใช้คำนำหน้าประโยคย่อยนี้เพื่อเชื่อมต่อกับประโยคใจความหลัก ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือนคำนามดังกล่าวเรียกว่า noun clause ซึ่งทำหน้าที่ต่าง ๆ กันในประโยค โดยมีการใช้คำนำหน้าและสามารถลดรูปได้

1.              หน้าที่ของ Noun Clauses ทำหน้าที่ต่างๆดังต่อไปนี้
1.1      Subject
1.2      Direct Object
1.3      Indirect Object
1.4      Object of a Preposition
1.5      Subject Complement
1.6      Object Complement
1.7      Appositive

2.             คำนำหน้า noun clause
2.1      That  นำหน้า noun clause ที่เป็นประโยคทั่วไปไม่ว่าจะเป็นประโยคบอกเล่า (affirmative statement) หรือประโยคปฏิเสธ ( negative statement)  ตัวอย่างเช่น
Ø Affirmative statement :  That he will come is certain. (การที่เขาจะมา เป็นสิ่งแน่นอน)
Ø Negative statement: Jane replied that her boss would not be in tomorrow .            (เจนตอบว่า เจ้านายของเธอจะไม่อยู่พรุ่งนี้)
คำว่า   that มีความหมายว่า   การที่ ”  ในกรณีที่ noun clause  เป็นประธานของคำกริยาใน main clause และ that มีความหมายว่า ว่า ในกรณีที่ noun clause เป็นกรรม  ดังในตัวอย่างข้างต้น อนึ่ง noun clause  ที่นำหน้าด้วย that   มีโครงสร้างของประโยคครบถ้วนการนำ that ไปวาง ข้างหน้า noun clause  เป็นเพียงการเชื่อม noun clause  กับ main clause
2.1.1                   หน้าที่ของ noun clause  ที่นำหน้าด้วย that สามารถใช้นำหน้า noun clause  ที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม ส่วนเสริมประธาน กรรมตามหลังบุพบท และ appositive ตัวอย่างเช่น
Subject: That the majority of people in developing countries live in dire poverty is true.
Object: The government believes that the national economy will recover soon.
Subject complement: His ambition was that he wanted to become prime minister.
Object of a preposition: The twins are similar in that they love folk songs .
Appositive: The rumor that there is a serpent in the Mae Kong River may be true .
2.2  Wh –words ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามข้อมูลเช่น                                                                     I doubt why  you want statistical figures . 
2.2.1 หน้าที่ของ noun clause ที่นำหน้าด้วย wh-words   noun clause ที่นำหน้าด้วย wh -words อยู่ในตำแหน่งของคำนามในประโยคได้ทุกตำแหน่ง ยกเว้น appositive โดย noun clause ที่นำหน้าด้วย wh -words มีหน้าที่ต่างๆดังนี้
Subject:   What he did was a serious mistake.
Object:   She told me how I could raise more money for charity.
Indirect object:   The man enjoyed explaining his theory to whoever was interested in it.
Object of a preposition:   The question of when the election will be held will be answered by the Election Committee tomorrow.
Subject complement:   You are what you eat .
Object complement:   People call him whatever they like .
2.2.2                   wh-words ที่ใช้นำหน้า noun clause จะมีหน้าที่บางประการใน noun clause ดังนี้
who, whoever, whom, whomever ทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause
Whoever wins must treat us to lunch.
I want to know who he has chosen to marry .
whose คำนามที่ตามหลัง whose ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม กรรมตามหลังบุพบทและส่วนเสริมประธาน ใน noun clause
I asked whose money was stolen.
Tell me whose book you are reading.
John doubted in whose house Jane lives.
what, whatever ทำหน้าที่เป็นประธาน กรรม และส่วนเสริมประธานใน noun clause
I’m afraid of what will happen after that.
What I did was acceptable.
I want to know what her name is .
which, whichever   มักมีคำนามตามหลัง โดยทำหน้าที่เป็นประธานและกรรมใน noun clause
I don’t know which brand is worth buying.
It’s half price for whichever book you buy.
You can choose whichever   you like.
where, when, why, how ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน noun clause 
where, wherever บอกสถานที่
Where he will stay has yet to be decided.
You should ask him where he wants to stay .
Wherever you go is the right place for me.
when, whenever   บอกเวลา
You must find out when he is due to arrive at the airport .
We are interested in when the conflict will be resolved.
I don’t care whenever he does  that .
why   บอกสาเหตุหรือเหตุผล
Why he went to China was not known.
Nopadol told the teacher why he could not finish his assignment .
how   บอกกิริยาอาการ
Describe how you felt at that time .
How he was involved in the scandal needs to be investigated.
2.3 If/Whether (… or not)
ใช้นำหน้าข้อความที่เป็นลักษณะการถามว่าใช่หรือไม่ if ใช้ได้เฉพาะนำหน้า noun clause ที่เป็นกรรม เท่านั้น ส่วน whether ใช้ได้ทุกกรณี
I wanted to know if/whether I could accompany him .
He asked if/whether or not he could take a day off.
Whether our team will win or not depends on luck.
ข้อสังเกต    whether จะมี or not ตามหลังทันที   ต่อท้ายประโยค หรือไม่มีก็ได้ แต่ if ไม่สามารถ มี or not ตามหลังทันทีได้
I wonder whether or not the weather will be fine on the day of our departure.
I wonder if/whether the weather will be fine on the day of our departure or not .
I wonder if/whether the weather will be fine on the day of our departure.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น