วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (ในห้องเรียน)
ครั้งที่ 5
                เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ขาดคุณธรรม จริยธรรมเป็นอย่างยิ่ง มีการทุจริตเป็นอย่างมาก ทำให้ส่งผลกระทบต่อการศึกษาไทยไปด้วย ซึ่งมันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่ง คุณครูจึงจำเป็นจะต้องวางแผนการจัดการเรียนที่ดีกว่านี้ ซึ่งคุณครูเองก็จำเป็นจะต้องมี คุณธรรม จริยธรรม ในตัวสูง ซึ่งคุณครูจะต้องมีความถูกต้อง (accuracy) ความคล่องแคล่ว (fluency) ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ต้องมีการจัดการเรียนการสอนให้ครบทั้งสี่ทักษะคือ ฟัง พูด อ่านและเขียน ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วย

                คุณครูในอนาคตจะต้องมีความถูกต้อง (accuracy) ครูจำเป็นจะต้องมีความรู้ที่ถูกต้อง ต้องมีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนอย่างดีก่อนเข้าสอน ความรู้ถูกต้องนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอาชีพครูนั้น เราต้องนำความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดมาสอนให้เด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ เราจึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ที่ถูกต้องและแม่นยำ นักเรียนที่เราสอนจะได้มีความรู้ที่ถูกที่สุด เพื่อไปประยุกต์ใช้ในอนาคตของพวกเขาและเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
                ความคล่องแคล่วก็เช่นกัน (fluency) คุณครูจะต้องมีความคล่องแคล่วภายในตัวอย่างยิ่ง ต้องมีความพร้อมที่จะสอนเนื้อหาต่างๆแก่เด็กๆ เพื่อที่จะให้ความรู้แก่เด็กอย่างถูกวิธีและจะต้องแสดงออกของความเป็นครูอย่างดียิ่งขึ้น จึงจำเป็นจะต้องมีความคล่องแคล่วอย่างมาก จะได้เป็นตัวอย่างที่ดีต่อนักเรียนด้วย สำหรับอาชีพครูนั้น ความคล่องแคล่วสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเราจะเป็นตัวอย่างและกระจกให้เด็กๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่เด็กๆ นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฉะนั้นจำเป็นจะต้องฝึกฝนเรื่อยๆ และเตรียมความพร้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นครูและเป็นกระจกที่ดีแก่นักเรียน
                ดังนั้นการเป็นครูนั้นจะต้องมีความรู้อย่างชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำ และจะต้องผ่านการฝึกฝนหลายๆครั้งเพื่อความคล่องแคล่วและจำเป็นจะต้องมีความรับผิดชอบไม่ว่าจะเป็นต่อตนเองและผู้อื่น ต่อตัวเองก็อย่างเช่นจะต้องมีความรู้เพียบพร้อม ต้องเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอน ต้องเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนต่อผู้อื่นก็อย่างเช่น ต่อนักเรียน ต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องและแม่นยำ ต้องมีความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมงาน จำเป็นจะต้องเป็นมิตรกับทุกคน


ADJECTIVE CLAUSE
Adjective clause จะมี relative pronoun หรือ relative adverb นำมาข้างหน้า ดังนั้น adjective clause จึงมีเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า relative clause
-      คำที่ใช้เชื่อม adjective clause กับคำนามหรือสรรพนามที่มาข้างหน้ามีดังนี้
1.             Relative pronouns
Who, whom, whose   ใช้แทนคน
Which       ใช้แทนสัตว์และสิ่งของ
That       ใช้แทนได้ทั้ง คน สัตว์ สิ่งของ
2.             Relative adverbs
Where    ใช้แทนสถานที่
When      ใช้แทนเวลา
Why       ใช้แทนเหตุผล
-      การใช้คำนำหน้า adjective clause มีหลักดังนี้
1.             Relative pronouns
Who, whom, whose    ใช้แทนคำนามข้างหน้าของคน
Ø Who ใช้กับประธานของกริยาใน adjective clause
เช่น The manager who give his workers democratic supervision in popular.
Ø Whom ใช้เป็นกรรมของกริยาหรือคำบุพบทใน adjective clause ใช้แทนเหตุผล
เช่น A secretary whom the company has just employed graduated from an open university.
Ø Whose ใช้แสดงความเป็นเจ้าของระหว่างคำนามที่มาข้างหน้าและคำนามที่อยู่ข้างหลัง whose
เช่น The movie director whose son was ordained yesterday is seriously ill.
Ø Which ใช้แทนคำนามข้างหน้าที่เป็นสัตว์และสิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรม
เช่น The car which is parked there was stolen from the neighborhood nearby.
Ø That ใช้แทนได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ โดยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของกริยาใน adjective clause โดยปกตินิยมใช้ that เมื่อคำนามที่อยู่ข้างหน้ามีคำคุณศัพท์แสดงการเปรียบเทียบขั้นสูงสุดหรือคำคุณศัพท์แสดงบอกลำดับที่มาขยายคำนามนั้น
เช่น Mr. Williams was the first English speaker that taught our class.
Ø Where ใช้แทนคำนามที่บอกสถานที่ ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective clause
เช่น The university where my brother is studying is on the next street.
Ø When ใช้แทนคำนามที่บอกเวลาซึ่งทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective clause
เช่น It was in March 2010 when the red-shirted people started  their rally.
Ø Why ใช้แทนคำนามที่บอกเหตุผล ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective clause

เช่น Give me a reason why you don’t like the Prime Minister.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น