วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (นอกห้องเรียน)
ครั้งที่ 2

ในยุคที่ภาษาอังกฤษกำลังเฟื่องฟู มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระบบที่หลากหลายลักษณะยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ก็เพราะมีข้อสมมุติว่า นอกเหนือจากวิชาภาษาอังกฤษโดยตรง หากสอนวิชาอื่นๆ เป็นภาษาอังกฤษด้วยยิ่งมากเท่าใด ผู้เรียนก็จะยิ่งเก่งภาษาอังกฤษมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เรียนภาษาอังกฤษด้วย

การเรียนภาษาต่างประเทศแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือความรู้และทักษะ คุณภาพมาตรฐานในเรื่องการเรียนการสอนก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่เช่นเดิม ผู้เรียนส่วนใหญ่ในทุกระดับยังไม่รู้ภาษาอังกฤษพอที่จะฟัง พู อ่าน เขียนและแปล ในขั้นที่ใช้การได้อย่างแท้จริง คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งไปที่เหตุปัจจัยภายนอกตัวผู้เรียน กล่าวคือ โทษครูผู้สอนว่าขาดความรู้ โทษตำราแบบเรียนและสื่อการเรียนการสอนว่าขาดคุณภาพ โทษสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนว่าจัดหลักสูตรโดยใช้สัดส่วนแก่ภาษาอังกฤษน้อยเกินไป โทษนโยบายของรัฐว่าขาดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและมีประสิทธิภาพ โทษสภาพแวดล้อมทางสังคมว่าไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง ประเด็นปัญหาต่างๆ ดังกล่าวมานี้คงต้องยอมรับว่าล้วนมีส่วนจริงอยู่ไม่มากก็น้อย อาจมีผู้โต้แย้งว่า แม้ระบบการศึกษาภาษาอังกฤษโดยรวมจะอ่อนแอ ก็ปรากฏว่ายังมีนักเรียน นักศึกษาบางส่วนที่เก่งภาษาอังกฤษเก่งขึ้นมาได้ ประเด็นนี้คงต้องย้อนกลับไปพิจารณาดูเหตุปัจจัยเฉพาะกรณี เป็นผู้มีความถนัดในการเรียนภาษา มีเจตคติที่ดีต่อภาษาที่เรียน มีแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้สูง ประกอบกับมีความทุ่มเทมากพอ เมื่อพิจารณาถึงที่สุดแล้ว ตัวผู้เรียนเองนั่นแหละเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด ดังที่กล่าวอยู่ว่า ภาษาเรียนได้แต่สอนไม่ได้ เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ ผู้เรียนภาษาอังกฤษจึงควรปรับเปลี่ยนท่าทีเสียใหม่
ในการแก้ปัญหาต่างๆ คงจะไม่ได้การเสียแล้ว ตัวผู้เรียนจึงจำต้องเป็นฝ่ายหันกลับเข้ามาพัฒนาปัจจัยภายใน ด้วยการพึ่งตัวเองให้มากขึ้น แต่การที่จะพึ่งตนเองในการเรียนภาษาอังกฤษจนสัมฤทธิ์ผลนั้น จำต้องดำเนินไปอย่างเป็นระบบหรือมีระเบียบแบบแผน โดยอาจมีขั้นตอนสำคัญดังนี้ 1. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย 2. รู้จักจัดเตรียมและแสวงหาแหล่งความรู้ 3. พัฒนาศัลยุทธ์การเรียนและ 4. ลงมือปฏิบัติ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากมายหลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่ออ่านข่าว ฟังข่าวและชมข่าว จากสำนักข่าวต่างประเทศ (BBC, VOA, CNN เป็นต้น) ตลอดจนตรวจสอบข้อมูลทางภาษารูปแบบใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก กลยุทธ์ในการเรียนภาษามีองค์ประกอบทั้งสิ้น 10 ประการ ได้แก่ ศึกษา ฝึกฝน สังเกต จดจำ เลียนแบบ ดัดแปลง วิเคราะห์ ค้นคว้า ใช้งาน ปรับปรุง ซึ่งอาจอธิบายขยายความได้ดังนี้ 1. การศึกษา การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาโดยตรงก่อนเสมอ ความรู้ที่เปรียบเทียบเหมือนเสาหลักมีอยู่สองด้านใหญ่ๆ ที่ไม่ควรละเลยคือความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา และความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษา 2. ฝึกฝน การเรียนรู้ภาษาแตกต่างจากการเรียนรู้วิชาอื่นๆ เป็นส่วนใหญ่ตรงที่ว่า ต้องมีสองด้านควบคู่กัน คือความรู้และทักษะ ความรู้เป็นภาคทฤษฎีวิชาทักษะเพื่อเน้นความสำคัญของภาคปฏิบัติ แต่ขณะเดียวกัน ก็มิได้ละเลยความสำคัญของภาคทฤษฎีแม้แต่น้อย การจะฝึกฝนภาษาให้ได้ผลจำต้องผ่านอินทรีย์หลายทางควบคู่กัน คือ ตา หู ปาก มือตาเอาไว้ดู หูเอาไว้ฟัง ปากเอาไว้พูด มือเอาไว้เขียน หัวเอาไว้คิด ใจเอาไว้รัก 3. สังเกต ภาษาอังกฤษมีเนื้อหาอยู่มาก ผู้เรียนภาษาที่ดีจึงต้องฝึกเป็นคนช่างสังเกต มีความละเอียดอ่อนถี่ถ้วน รอบคอบในการเรียนและการใช้ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องใส่ใจในเรื่องใหญ่ๆ ดังนี้ คือ ศัพท์และไวยากรณ์ 4. จดจำ ความจำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกชนิด รวมทั้งการเรียนภาษาด้วย 5. เลียนแบบ การเรียนภาษาจึงต้องอาศัยการเลียนแบบตลอดทุกขั้นตอน เริ่มจากเด็กที่เรียนภาษาย่อมต้องหัดพูดตามหรือเลียนแบบภาษาพ่อแม่ เมื่อเข้าสู่วัยเรียน นักเรียน นักศึกษา ก็จะเลียนแบบภาษาของครู อาจารย์และเพื่อนๆ ร่วมชั้น แม้เมื่อประกอบอาชีพก็จะมีภาษาในแวดวงของตนเองที่จะต้องเลียนแบบใช้ตาม 6. ดัดแปลง เมื่อเลียนแบบแล้ว ต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับวัตถุประสงค์ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ การรู้จักดัดแปลง ย่อมต้องอาศัยความรู้เรื่องไวยากรณ์ประกอบด้วยศัพท์ สำนวนโวหารต่างๆ เป็นพื้นฐานสำคัญ 7. วิเคราะห์ การเรียนภาษาในระดับเบื้องต้นจำต้องอาศัยการเลียนแบบอยู่มาก แต่เมื่อเรียนในขั้นสูงขึ้น ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์เข้ามาเสริม ซึ่งมีความซับซ้อนยิ่งกว่าภาษาทั่วไป การวิเคราะห์มีได้ใน 3 ระดับใหญ่ๆ คือ ระดับศัพท์ ระดับไวยากรณ์และระดับถ้อยความ 8. ค้นคว้า ผู้เรียนต้องค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษล้วนสำหรับผู้เรียนภาษา 9. ใช้งาน เมื่อผู้เรียน เรียนภาษาไปบ้างแล้ว ก็สมควรจะใช้งานจริงในภาคสนามด้วย เพื่อทดสอบและตรวจสอบว่า ความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มานั้นเพียงพอหรือไม่ 10. ปรับปรุง ในการฝึกฝนการใช้ภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการใช้ภาษาในชีวิตจริง ผู้เรียนภาษาที่ดีต้องช่างสังเกตและเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและบกพร่อง
องค์ประกอบทั้ง 10 ของกลยุทธ์ในการเรียนภาษานี้มีความเกี่ยวเนื่องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน จำเป็นต้องนำมาใช้บ่อยๆ ใช้อย่างสม่ำเสมอและยังต้องใช้อย่างต่อเนื่องตลอดไปอีกด้วย จึงจะบังเกิดผล เพราะว่าการเรียนภาษาถือเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินไปตลอกชีวิต


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น