วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (นอกห้องเรียน)
ครั้งที่ 7
การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนโต และจนกระทั่งถึงวัยชรา การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลก  ทำให้ผู้อ่านมีความสุข  มีความหวัง  และมีความอยากรู้อยากเห็น  อันเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคน  การอ่านมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง คือ พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และมีความอยากรู้อยากเห็น การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ ก็ได้มาจากการอ่านนั่นเอง 

การอ่าน  คือ  กระบวนการที่ผู้อ่านรับรู้สารซึ่งเป็นความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และ ความคิดเห็นที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร  การที่ผู้อ่านจะเข้าใจสารได้มากน้อยเพียงไร  ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถในการใช้ความคิด  จุดมุ่งหมายของการอ่าน  1.   อ่านเพื่อความรู้  ได้แก่  การอ่านจากหนังสือตำราทางวิชาการ  สารคดีทางวิชาการ การวิจัยประเภทต่าง ๆ หรือการอ่านผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ควรอ่านอย่างหลากหลาย  เพราะความรู้ในวิชาหนึ่ง อาจนำไปช่วยเสริมในอีกวิชาหนึ่งได้ 2.   อ่านเพื่อความบันเทิงได้แก่ การอ่านจากหนังสือประเภทสารคดีท่องเที่ยว นวนิยาย เรื่องสั้น  เรื่องแปล การ์ตูน บทประพันธ์  บทเพลง  แม้จะเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง แต่ผู้อ่านจะได้ความรู้ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องด้วย 3.   อ่านเพื่อทราบข่าวสารความคิด  ได้แก่  การอ่านจากหนังสือประเภทบทความ บทวิจารณ์  ข่าว  รายงานการประชุม  ถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต้องเลือกอ่านให้หลากหลาย ไม่เจาะจงอ่านเฉพาะสื่อ ที่นำเสนอตรงกับความคิดของตน เพราะจะทำให้ได้มุมมอง ที่กว้างขึ้น ช่วยให้มีเหตุผลอื่น ๆ มาประกอบการวิจารณ์ วิเคราะห์ได้หลายมุมมองมากขึ้น 4.   อ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะทางแต่ละครั้ง  ได้แก่  การอ่านที่ไม่ได้เจาะจง แต่เป็นการอ่านในเรื่องที่ตนสนใจ หรืออยากรู้  เช่น  การอ่านประกาศต่าง ๆ การอ่านโฆษณา  แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์  สลากยา  ข่าวสังคม  ข่าวบันเทิง  ข่าวกีฬา   การอ่านประเภทนี้มักใช้เวลาไม่นาน ส่วนใหญ่เป็นการอ่านเพื่อให้ได้ความรู้และนำไปใช้  หรือนำไปเป็นหัวข้อสนทนา เชื่อมโยงการอ่าน สู่การวิเคราะห์  และคิดวิเคราะห์  บางครั้งก็อ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์ของการอ่าน (ศรีรัตน์  เจิงกลิ่นจันทร์,  2536, หน้า  6) 1.   เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ 2.   ทำให้มนุษย์เกิดความรู้  ทักษะต่าง ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 3.   ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์  ความเพลิดเพลินบันเทิงใจและเกิดความบันดาลใจ  4.   เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  5.   ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโลก   6.   เป็นการส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์  7.  ช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาสังคม  การเมือง  เศรษฐกิจและปัญหาส่วนตัว

ทักษะการอ่านจะต้องเข้าในทั้งความหมายและองค์ประกอบของทักษะการอ่าน อันจะได้หาทางส่งเสริมให้เยาวชนในปัจจุบันได้มุ่งสู่แนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น การอ่านแต่เดิมนั้นหมายถึง การแปลสัญญาณให้ออกมาเป็นคำพูด ปัจจุบันการอ่านหมายถึง ความสามารถในการใช้ประโยชน์ของการผสมผสานของตัวอักษรแล้วได้รับความรู้ การสอนอ่านในยุคปัจจุบันจึงเน้นที่จะมุ่งสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนมากขึ้น สำหรับทักษะในการอ่านหมายถึง ความคล่องตัวที่จะใช้กรประสมประสานของตัวอักษรโดยผ่านการไตร่ตรองแล้วเก็บเป็นความรอบรู้แห่งตน หรือความคล่องตัวในการใช้กระบวนการอ่าน กระบวนการอ่านเป็นการฝึกใช้ความคิดในการรับรู้สื่อความหมายที่ผู้เขียนสื่อถึงผู้อ่านกระบวนการอ่านจึงเป็นแนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ ความเข้าใจจากการอ่านเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น