ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่าโครงสร้าง
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Structure” โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา
โครงสร้างเป็นสิ่งที่บอกว่าเราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันหรือเรียงกัน
ในการแปล
ผู้แปลมักนึกถึงศัพท์ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้คำศัพท์แต่ละคำศัพท์ในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้
เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้
1.
ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ (part of speech) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง
เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร
ประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อเราใช้ชนิดของคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์
(grammatical category) หมายถึงลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง
ซึ่งมักสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1
คำนาม
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
1.1.1
บุรุษ (person)
1.1.2
พจน์ (number)
1.1.3
การก (case)
1.1.4
นามนับได้ กับ
นามนับไม่ได้ (countable and Uncountable nouns)
1.1.5
ความชี้เฉพาะ (definiteness)
1.2
คำกริยา
คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค การใช้กริยาซับซ้อนกว่าคำนาม
เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
1.2.1
กาล (tense) คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีตหรือไม่ใช่อดีต
ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล
1.2.2
การณ์ลักษณะ (aspect) หมายถึงลักษณะของการกระทำหรือเหตุการณ์
1.2.3
มาลา (mood) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา
มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์อย่างไร
ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลา
1.2.4
วาจก (voice) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยกริยา
ว่าประธานเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้ถูกกระทำ แต่ในภาษาไทย
คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเอง
1.3
ชนิดของคำประเภทอื่น
ชนิดของคำประเภทอื่นนอกจากคำนามกับกริยา
มีความซับซ้อนน้อยกว่าคำนามและกริยา
และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการแปลมากเท่ากับคำนามกับคำกริยา อย่างไรก้อตาม
คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เองได้แก่ คำบุพบท (preposition) และคำคุณศัพท์ (adjective)
2.
หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (construction) หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง
เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
ซึ่งผู้แปลควรให้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษดังนี้
2.1
หน่วยสร้างนามวลี : ตัวกำหนด (determiner) + นาม
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด (determiner)
อยู่หน้านามเสมอ ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์
ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด
2.2
หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย + ส่วนหลัก
ในหน่วยสร้างวลี ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
2.3
หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างกรรมวาจกมีรูปแบบเด่นชัด
แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ
2.4
หน่วยสร้างประโยคเน้น
subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
ภาษาไทยได้ชื่อว่าเน้น topic
(topic-oriented language) ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นการเน้น subject
(subject-oriented language)
2.5
หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย
(serial verb construction)
หน่วยสร้างในภาษาไทยที่ไม่มีในภาษาอังกฤษและมักเป็นปัญหาในการแปลได้แก่
หน่วยสร้างกริยาเรียง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า
3.
สรุป
ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
สรุปได้ว่าในการแปลระหว่างภาษาไทยกับอังกฤษนั้น
ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและแปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษมีดังนี้
3.1
เรื่องชนิดของคำ
3.2
เรื่องประเภททางไวยากรณ์
3.3
เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น