Learning Log (นอกห้องเรียน)
ครั้งที่ 11
เทคนิคการฟังภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องและพูดภาษาอังกฤษให้เก่ง คำพูดที่ว่า "ทำอย่างไรให้ฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง" หรือ
"ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง” และ “ทำอย่างไรจึงจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่ง” เป็นคำพูดที่คนส่วนใหญ่พูดกัน
ทั้งๆที่เรียนภาษาอังกฤษกันมาแล้วหลายปียิ่งไปกว่านั้น
หลายคนยังต้องเสาะหาที่เรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมจากที่ต้องเรียนในโรงเรียน
แต่ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ เพราะอะไรสาเหตุที่สำคัญคือ การฟังภาษาอังกฤษให้เก่ง
กล่าวคือเราต้องพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษก่อน และวิธีการฟังให้ได้ผลดีคือ
เราต้องฟังประโยคซ้ำๆ หลายๆรอบ จนขึ้นใจแล้วพูดตาม ออกเสียงให้เหมือนที่สุด
อาจไม่เข้าใจความหมาย หรือคำแปล ไม่เป็นไร ขอให้พูดภาษาอังกฤษออกมาให้ได้ก่อน
เพียงประโยคสั้นๆ
อยากพูดยาวๆ แต่ก็พูดไม่ได้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าภาษาไทยต้องตอบยังไง อยากจะพูดใจแทบขาด
แต่ก็ตอบได้แบบตะกุก..ตะกัก ถามคำตอบคำ มันทำให้เราขาดความมั่นใจ
ทั้งที่เราเก่งศัพท์ ท่องหลักไวยากรณ์มาแล้วเป็นเวลาหลายสิบปี
แต่ก็ยังพูดไม่ได้อยู่ดีต้องทำยังไง? 1. อย่ากลัวความผิดพลาดและกังวลกับหลักไวยากรณ์มากเกินไป
ปัญหาใหญ่สำหรับคนที่กำลังหัดพูดภาษาอังกฤษ ที่ฝรั่งมักจะเรียกว่าเป็นอาการ “mental
blocks” คือมีบางสิ่งในจิตใจที่ขัดขวางทำให้ไม่สามารถเข้าใจหรือทำอะไรบางอย่างได้
กลัวว่าจะพูดผิด อายถ้าพูดประโยคภาษาอังกฤษได้ไม่สมบูรณ์แบบและไม่ถูกต้องเป๊ะๆ
ตามหลักไวยากรณ์ ที่ท่องกันเป็นนกแก้วนกขุนทอง ความกังวลเหล่านั้นจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัดและพูดไม่ได้สักที
จำเอาไว้ว่า “การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าความสมบูรณ์แบบ”
2. เริ่มต้นจากการฟังอยากพูดภาษาอังกฤษให้คล่องเราต้องเริ่มฟังกันก่อน
ไม่ว่าจะเป็นบทสนทนาภาษาอังกฤษ หรือจะดูหนัง ฟังเพลง เลือกแบบที่เราชอบได้เลย จะช่วยให้เราคุ้นเคยกับสำเนียงของเจ้าของภาษา
เคล็ดลับในการฟังให้ได้ผลก็คือ “ฟังอย่างเข้าใจ
และฟังอย่างต่อเนื่อง” 3. ฟังแล้วตอบ การฟังเพื่อให้เราเข้าใจภาษาอังกฤษได้มีประสิทธิภาพและสามารถโต้ตอบได้
ไม่ใช่ฟังซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง เพื่อให้จำเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการ “ฟังและตอบคำถาม” ในขั้นตอนแรกของการฝึกพูดภาษาอังกฤษให้ดี
นั่นคือ การฟังจากบทสนทนาภาษาอังกฤษง่ายๆ เมื่อเราฟังแล้ว ลอง “Pause” ในช่วงของคำตอบ แล้วฝึกตอบอย่างรวดเร็ว จากคำถามที่เราฟัง
ฝึกให้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องคิด
ภาษาอังกฤษของคุณก็จะกลายเป็นระบบอัตโนมัติไปโดยปริยาย 4. เรียนรู้เป็นภาพ
ไม่ใช่ตัวอักษรก่อนที่จะพูดภาษาอังกฤษได้ต้องมีการซ้อม การเตรียมความพร้อม
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราไม่สามารถสื่อสารหรือพูดภาษาอังกฤษได้นั้นเพราะเราไม่รู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเลย
ท่องจำกันตั้งแต่เล็กจนโตก็จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ถึงเวลาจริงก็นึกไม่ออก 5. หยุดท่องหลักไวยากรณ์ เด็กไทยส่วนเริ่มเรียนภาษาอังกฤษมาพร้อมๆ
กับการเริ่มท่องกฎไวยากรณ์ พร้อมกับคำศัพท์รูปกริยาที่เปลี่ยน ช่อง 1, 2, 3 ถ้าเริ่มต้นด้วยวิธีท่องหลักไวยากรณ์แล้ว 60
เปอร์เซนต์ จะคุยกับฝรั่งไม่ได้เลย อีก 30 เปอร์เซนต์
จะแค่พอพูดได้แบบตะกุกตะกัก ซึ่งมีเพียง 10
เปอร์เซนต์เท่านั้น ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว 6. เรียนรู้แบบช้าๆ แต่ลึกซึ้ง เคล็ดลับที่จะทำให้คุณพูดภาษาอังกฤษได้อย่างง่ายดายนั่นก็คือ
การเรียนรู้ทุกคำ และทุกวลีอย่างลึก (Deeply) ไม่ใช่แค่เรียนรู้ความหมาย
แต่คุณจะต้องเรียนรู้มันอย่างลึกซึ้ง การพูดภาษาอังกฤษให้ได้ง่ายคุณต้องทำซ้ำหลายๆ
ครั้ง 7. อย่าแปลเป็นไทยสาเหตุที่คนไทยส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้แม้ว่าอาจจะฟังออกก็ถาม
นั่นก็คือ การแปลประโยคต่างๆ เป็นภาษาไทยก่อนตอบ
ซึ่งการพูดได้อย่างเป็นอัตโนมัติคือ ฟัง-คิด-พูด ต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
เพราะฉะนั้น เราควรพยายามแปลเป็นไทยให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 8. เรียนรู้ที่จะคิดให้เป็นภาษาอังกฤษ “การคิดให้เป็นภาษาอังกฤษ”
อีกหนึ่งวิธีที่ดีที่สุดที่ในการเรียนรู้
และจะทำให้คุณพูดได้อย่างง่ายดาย 9. พูดด้วยคำศัพท์ที่แตกต่าง
ดูดีมีความคิดสร้างสรรค์ หลายครั้งที่คุณพูดภาษาอังกฤษแต่นึกคำศัพท์ไม่ออก
นั่นก็เป็นอุปสรรคหนึ่งที่ทำให้เราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เพราะมัวแต่คิดถึงคำศัพท์ที่เคยท่องไว้
ลองหาคำอื่นมาอธิบายขยายความเอาก็ได้ 10. ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เปลี่ยนสภาพแวดล้อมของคุณให้เต็มไปด้วยภาษาอังกฤษ ถือเป็นการฝึกฝนไปในตัว “พยายามหาเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ” นอกจากจะได้เพื่อนแล้ว
เรายังได้ฝึกภาษาด้วย
แนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษทุกวันๆ
ละ 10 นาที และจะดีมากๆ ถ้าคุณใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ แม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ
แต่ก็ยังมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ภาษาอังกฤษมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น
อ่านข่าวหรือฟังข่าวออนไลน์เป็นภาษาอังกฤษแทนภาษาไทย, ฝึกการคิดเป็นภาษาอังกฤษ
อ่านบทความ หรือดูวิดีโอภาษาอังกฤษในแบบที่คุณชอบ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น