วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (ในห้องเรียน)
ครั้งที่ 2
จากที่ได้เรียนในคาบที่แล้ว ทำให้รู้ว่า การศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะให้คนในประเทศชาติเจริญๆ มากขึ้น ซึ่งการศึกษาไทยก็แตกต่างกันมากกับต่างประเทศ โดยเฉพาะในรายวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจากการที่ได้เรียนมา ก็มีหลายๆประเด็นที่เราสามารถบอกถึงความแตกต่างของประเทศไทยกับต่างประเทศ และรวมการหาข้อมูลเอกจากนอกห้องเรียนด้วย

จากการศึกษาในห้องเรียนมาคาบที่แล้ว ได้เรียนรู้เรื่อง “Learning Strategies” คือ กลวิธีการเรียนรู้ภาษาและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญานของนักศึกษา ซึ่งการศึกษาของประเทศไทย ส่วนมากจะขาดส่วนนี้ไปโดยส่วยใหญ่ ทำให้เด็กไทยเรียนรู้ได้ช้าลงและส่งผลให้ครูและหลักสูตรก็เอมลงไปด้วย ซึ่งการที่จะพูดเรื่อง Learning Strategies นั้น เราต้องมีกระทรวงศึกษาธิการต้องวางแผนทุกอย่างให้เรียบร้อย โดยเริ่มจาก สภาพการจัดการศึกษาคือต้องกำหนดให้เด็กได้เรียนกันทุกคนและได้เรียนกันอย่างเท่าเทียมกัน ด้านโอกาสทางการศึกษา ทางกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องจัดให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียน ด้านบริหารการจัดการ ก็ต้องมีอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ้งทั้งหมดนี้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกระดับและทุกประเภท ต้องขยายโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียน ให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มศักยภาพและมีคุณสมบัติ จะต้องพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการ
เรื่องต่อไปที่ได้เรียนรู้มาคือ Meta-cognition คือความสามารถของบุคคลที่มีต่อกระบวนการคิดของตนเอง รู้ว่าอะไรเหมาะสมกับตัวเองในการเรียนรู้ของตนเองได้ เพื่อให้การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานต่างๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ Metacognition มี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ ความรู้ กรควบคุมตัวเองและความตระหนักต่อการะบวนการคิด การประเมิน Metacognition เป็นวิธีการคิดที่มีระบบอยู่มนสมองของมนุษย์ กรประเมินนี้จึงต้องใช้การกระตุ้นจากภายนอก เพื่อให้ผู้เรียนแสดงวิธีการคิดและพฤติกรรมโดยใช้วิธีการอย่างหลากหลาย เช่น การสัมภาษณ์ วิธีการคิดออกเสียง การให้รายงานตัวเองและการใช้แบบทดสอบ ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียหรือข้อจำกัดที่แตกต่างกัน จึงควรพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีในการประเมินได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับจุมุ่งหมายที่ต้องการ
และเรื่องสุดท้ายที่ได้เรียนมาวันนั้นก็คือเรื่อง Scaffloding  การเรียนรู้ขั้นบันได การพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น สามารถเทียบวินัย 5 ประการ ได้กับบันได 5 ขั้น บันได 4 ขั้นแรกเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ ผ่านการจัดตลาดนัดความรู้ โดยใช้เครื่องมือย่อยของ KM เป็นตัวช่วยในการสร้างบรรยากาศในการเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ และเมื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้หมุนอย่างต่อเนื่อง จะสามารถพัฒนาคนที่เข้าร่วมกระบวนการได้ ฝึกการคิดร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ทำให้สามารถคิดได้รอบคอบขึ้น คิดได้ครบวงจร อาจกล่าวได้ว่า เมื่อมีการใช้ KM อย่างต่อเนื่อง  จะก่อให้เกิดความสามารถในการคิดเชิงระบบ ซึ่งเป็นบันไดขั้นที่ 5 ตามที่ Peter M. Senge เน้นว่าสำคัญที่สุด เครื่องมือย่อยของ KM ที่ได้แยกไว้ตามบันไดทั้ง 5 ขั้น 1. Mental Model เป็การเตรียมคนให้พร้อม 2. Team Learning ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. Personal Mastery นำความรู้ที่ได้กลับมาปรับปรุงใช้กับงานของตน 4. Shared Vision ฝึกตีความเรื่องเล่ถึงเป้าหมายของหน่วยงาน 5. Systems Thinking บันไดขั้นที่ 5 เกิดจากการใช้ KM อย่างต่อเนื่อง
ทั้งสามเรื่องนี้ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างมากเนื่องจากการศึกษาไทยต้องพัฒนาให้ดีกว่านี้อย่างมาก เพื่อที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และจากที่เรียนมาแล้วก็ได้เห็นอย่างชัดเจนว่าการศึกษาไทยเป็นอย่างไร และควรที่จะปรับปรุงอย่างไร และอีกประเด็นที่เห็นได้ชัดคือ ได้นำความรู้ที่ได้รับมาทั้งหมดไปประยุกต์ใช้ในอนาคตอีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น