วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ
Beyond Language Learning

การเรียนรู้ในห้องเรียนในครั้งนี้ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรม และได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะ ซึ่งในตอนเช้าของวันก็ได้มีวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถล้นเปี่ยม และเต็มไปด้วยศักยภาพของความเป็นผู้นำ ซึ่งได้ให้ความรู้เป็นอย่างมากเกี่ยวกับการเรียนการสอน และปัจจัยของปัญหาหลายๆในการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่ผู้หลักผู้ใหญ่ ครูบาอาจารย์ หลักสูตรการเรียนการสอน สภาพแวดล้อม และตัวนักเรียนเอง

พูดถึงในเรื่องของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จากการวิจัยแล้วสรุปได้ว่า นักเรียนจะต้องได้รับการเรียนรู้ใน 5 ด้าน หรือเรียกว่า 5C ซึ่ง C แรกคือ Communication คือ ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้ C ที่สองคือ Culture คือผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของภาษาที่ใช้ด้วย C ที่สามคือ Connection คือ ต้องมีความเชื่อมต่อและสานสัมพันธ์ระหว่างภาษา C ที่สี่คือ Comparison คือ การเปรียบเทียบระหว่างภาษา และ C สุดท้ายคือ Community คือ รวมเป็นหนึ่ง แต่นี่คือการเรียนรู้สมัยก่อน เนื่องจากเรากำลังจะเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 จึงมีการปรับเปลี่ยนใหม่เพราะการมีแค่ 5C นั้นไม่พอแล้ว จึงต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ซึ่งได้เพิ่มอีก 2 C เป็น 7C  ดังนี้ C ที่หนึ่งคือ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา) C ที่สองคือ Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) C สามคือ Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์) C ที่สี่คือ Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) C ที่ห้าคือ Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)     C ที่หกคือ Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)และ C สุดท้ายคือ Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
ดังนั้นการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) โดยเฉพาะคนที่ประกอบอาชีพครู


ภาษาเพื่อการสื่อสารและกิจกรรม

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่คนใช้สื่อสารกันมากที่สุดในโลก ซึ่งแต่ละประเทศที่พูดก็จะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไป ทำให้มีการผิดเพี้ยนของคำไปจากเดิม ซึ่งมีทั้งการเข้าใจผิด การออกสียงผิด การให้ความหมายแบบผิดๆ เนื่องจากภาษาอังกฤษนั้น จะมีที่มาจากสองประเทศ คือ อังกฤษกับอเมริกา ทำให้คนสัญชาติอื่นๆที่พูดภาษาอังกฤษสับสนว่า คำไหนถูกหรือคำไหนผิด และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบันคือการที่มีโลกมีการใช้โซเชียลเน็ตวอร์คเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ซึ่งต้องอาศัยการพิมพ์เป็นหลัก ทำให้ภาษาที่การวิบัติมากขึ้น เนื่องจากจะมีคำใหม่ๆเกิดขึ้นและมีการลดคำลงคือการใช้อักษรย่อนั่นเอง
ในศตวรรษที่ 21 มีปัจจัยที่สำคัญทีทำให้ภาษาเปลี่ยนแปลงคือ อินเตอร์เน็ต ซึ่งจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียมากมาย เช่น 1. การสะกดคำในรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่การสะกดตามมาตรฐานเดิม ตัวสะกดบางตัวหายไป แต่ยังสามารถออกเสียงได้เหมือนเดิม มีการนำตัวเลขเข้ามาผสมในคำเพื่อให้ออกเสียงได้เหมือนเดิม สะกดคำใหม่ ตัวสะกดบางตัวหายไป และออกเสียงไม่เหมือนเดิม 2. มีการเชื่อมคำเข้าด้วยกัน (word combination) 3. สร้างอักษรใหม่ขึ้นที่รู้กันเฉพาะกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ 4. เกิดสัญลักษณ์ขึ้นใหม่ที่เรียนกว่า Emoticons จะใช้ตัวอักษร 5. มีการใส่เครื่องหมายเป็นสัญลักษณ์เพื่อสื่อความหมายบางประการ 6. มีการใส่คำแทนเสียงหรือเลียนเสียง (Onomatopoeic) เช่น เสียงหัวเราะ hahahaha เสียงสงสัย huh? เสียงตกใจว่าทำอะไรผิด oops  7. ศัพท์เฉพาะ นอกจากภาษาไทยจะมีศัพท์เฉพาะในการใช้อินเตอร์เน็ต 9. มีการสะกดผิดเหมือน เบยที่สะกดผิดมาจากคำว่า เลยในภาษาอังกฤษคือคำว่า Teh จากคำว่า The 10. ถ้าใช้อักษรตัวใหญ่ทั้งหมดแปลว่าต้องเร้นย้ำ หรือพวกตวาดเสียงดังเช่น STOP IT  11. แสลงที่พบบ่อยในอินเตอร์เน็ต
          ทั้งนี้ การเปิดใช้พจนานุกรมเพื่อค้นหาคำที่ควรใช้ให้ถูกต้องอาจเป็นทางเลือกที่ดี ทางบัณฑิตยสถานได้กำหนดคำที่ใช้อย่างเป็นทางการหรืออยู่ในรูปแบบมาตรฐาน หากใช้ผิดอาจกลายเป็นคำวิบัติได้ ซึ่งคำวิบัติไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของภาษาแต่อย่างใด เป็นเพียงการใช้ภาษาให้แตกต่างจากปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจใช้จากรุ่นสู่รุ่นไปจนกว่าคำวิบัตินั้นจะหายไปจากสังคม


วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21

ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษยังไม่บูรณาการทั้ง 4 ทักษะ การฝึกปฏิบัติยังไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เน้นการสอนไวยากรณ์และท่องศัพท์ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถ        ใช้ภาษาอังกฤษแบบการสื่อสารได้ วิธีการเรียนการสอนยังไม่หลากหลายและไม่สอดคล้องกับพื้นฐาน         ของนักเรียน จำนวนนักเรียนในชั้นเรียนมากเกินไป ทำให้ไม่สามารถดูแลหรือจัดให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติได้อย่างทั่วถึง
ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการ และมีทฤษฎีการสอนหลากหลายวิธี ที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมนำไป ดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคน ดังวิธีสอนต่อไปนี้ 1. วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation ) เป็นวิธีการสอนที่ เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน 2. วิธีสอนแบบตรง เป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียน 3. วิธีสอนแบบฟัง-พูด เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ สอนครบองค์ประกอบลำดับจากง่ายไปหายาก 4. วิธีสอนแบบเงียบ เน้นความรู้ความเข้าใจ 5. วิธีสอนตามแนวธรรมชาติ เลียนแบบกรเรียนรู้ภาษาที่หนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครสอน 6. วิธีสอนแบบชักชวน สอนให้ผู้เรียนผ่อนคลายที่สุด 7. วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ 8. การเรียนรู้แบบร่วมมือ เน้นให้ผู้เรียนเรียนเป็นกลุ่ม 9. การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน ใช้ภาระงานเป็นหลัก 10. การเรียนรู้จากการทำโครงงาน 11. แนวการสอนแบบกำหนดสถานการณ์ 12. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 13. การสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้ 14. การเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งเป็นวิธีที่เน้นให้ใช้มากที่สุดในศตวรรษที่ 21
สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามรถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง  ดังนั้นสรุปว่ากิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตรแบบบูรณาการจะเน้นที่แนวคิด ของประเด็นในปรากฏการณ์จริง ซึ่งต้องนำความรู้จากเนื้อหาวิชาต่างๆมาประสานเชื่อมโยงกันและกันในลักษณะใหม่
ครูในศตวรรษที่ 21
 
ครูแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 จะต้องสนใจในเทคโนโลยีต่าง ๆที่มีเพิ่มมากขึ้นในศตวรรษที่21มีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีนวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่ (Social Network ) มาสนับสนุนการเรียนรู้และการบริหารจัดการทั้งด้าน วิชาการ บุคคล งบประมาณและการบริหารงานทั่วไป เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กยุคใหม่ด้วยสารสนเทศรอบด้าน โรงเรียนที่มีความพร้อมสูงจัดแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบ E-Classroom , E-Learning,E-Library ,E-office,E-StudentและE-Service เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการจัดการห้องเรียน ห้องสมุด การเรียนการสอน และสื่อสังคมสมัยใหม่สามารถยกระดับสู่คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา
"ห้องเรียนกลับด้าน" หรือ "Flipped Classroom" เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ Jonathan และ Aaron ครูวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High School  สหรัฐอเมริกา ค้นคิดขึ้น นักเรียนบางส่วนของพวกเขาจำเป็นต้องขาดเรียนบ่อยครั้งเพราะถูกกิจกรรมต่างๆ ดึงตัวออกไป ทั้ง 2 คนจึงระดมสมองคิดหาทางแก้ไข จนนำไปสู่ Flipped Classroom  ในปี 2007 จนถึงปัจจุบัน กระแส Flipped Classroom  แพร่ขยายเป็นวงกว้างในอเมริกา และในปีการศึกษา 2556 นี้ ชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะปรับตัวให้เป็นห้องเรียนกลับด้าน เช่นกัน "เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน"อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า นำสิ่งที่เดิมเคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน โดยอาศัยการเล่นเกมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบผ่อนคลาย แต่ต้องคำนึงด้วนว่าเล่นแล้วนักเรียนต้องได้เรียนรู้ทักษะต่างๆด้วย เช่นเดียวกับตอนอบรมก็ได้เล่นเกมและได้ทักษะหลายๆอย่าง เช่น ทักษะการพูด การคิด การแก้ปัญหาและอีกหลายๆทักษะ

ดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำความรู้มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน และใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆที่ทันสมัยมาถ่ายทอดให้กับนักเรียน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนให้มากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น