บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการเดินทาง ตลอดจนในการศึกษา
จึงแสดงให้เห็นว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วย จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย
เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก บางคนอาจจะรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ
จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้แปล งานแปลจึงสามารถยึดเป็นอาชีพได้
การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส
มีการแปลเอกสารต่างๆ
ในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลจะช่วยให้ลดความไม่เข้าใจกัน
เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและสร้างความเข้าใจระหว่างนานาชาติ
ทำให้เกิดสันติภาพในโลก
จากการที่เรามีบริษัทตัวแทนในการค้าขายจากต่างประเทศ
มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ได้แก่
การเมือง สังคม เศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม เป็นต้น
ตลอดจนมีการท่องเที่ยวที่นำเงินรายได้ให้กับประเทศ
ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ในด้านวิชาการต่างๆ
เช่น การเกษตร การแพทย์ การเคหะ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการศึกษาของชาติ
จึงมีการแปลตำราเหล่านี้เป็นภาษาไทย เพื่อช่วยให้นักศึกษา นักธุรกิจและนักการเมือง
ในการศึกษาหาความรู้หรือเดินทางไปต่างประเทศ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ
และอีกประการหนึ่งการแปลมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม
( cultural backgrown ) ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดเวลา
ศัพท์บางคำหาคำเทียบในภาษาไทยไม่ได้จริงๆ
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ
โดยได้รับการฝึกฝนอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ
ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น แต่ในส่วนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะประดิษฐ์งานแปลให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปนั้นถือเป็นงานศิลป์
คุณสมบัติของผู้แปล
1.
เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.
สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ความรู้
3.
เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา
4.
เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี
หรือภาษาศาสตร์
5.
ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้และรักการค้นคว้าวิจัย
6.
ผู้แปลต้องมีความอดทนและเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือ
สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
สรุปได้ว่าผู้เรียนแปลจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.
1.รู้ลึกซึ้งในเรื่องภาษา
2.
รักการอ่าน
ค้นคว้า
3.
มีความอดทน
4.
มีความรับผิดชอบ
นักแปลที่มีคุณภาพหมายถึงนักแปลที่มีความสามารถถ่ายทอดความคิดของต้นฉบับได้อย่างครบถ้วน
โดยไม่ขาดหรือไม่เกิน
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.
เป้าหมายที่สำคัญของการแปล
คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดในหลักสูตรว่าควรจะสอนอะไร
2.
การสอนแปลให้ได้ผล
ตามทฤษฎีวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวกับทักษะ 2 ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
3.
ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
4.
ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพเพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพ
บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร คือ
ผู้รับสารไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่ง
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.
ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ
ไม่ติดสำนวนฝรั่ง
2.
สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
3.
ใช้การแปลแบบตีความ
ลักษณะของงานแปลที่ดี
1.
ความหมายถูกต้องและครบถ้วนตามต้นฉบับ
2.
รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3.
สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การวิเคราะห์ความหมาย
1.
องค์ประกอบของความหมายประกอบด้วย
คำศัพท์ ไวยากรณ์ เสียง
2.
ความหมายและรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.1
ในแต่ละภาษา
ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น
ในรูปประโยคที่ต่างกันหรือใช้คำที่ต่างกัน
1.2
รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
ความหมายของรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป
3.
ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมายไว้ 4 ประเภทด้วยกัน
1.1
ความหมายอ้างอิง
หมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
1.2
ความหมายแปล หมายถึง
ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวกหรือทางลบก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษา
1.3
ความหมายตามปริบท
รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย
ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
1.4
ความหมายเชิงอุปมา
เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบโดยเปิดเผยและการเปรียบเทียบ ออกเป็น 3 ส่วน คือ
4.1
สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
4.2
สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
4.3
ประเด็นของการเปรียบเทียบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น