Learning Log (ในห้องเรียน)
ครั้งที่ 7
การสอน เป็นงานหลักของครู
ซึ่งปัจจุบันถือว่าครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ที่บุคคลในวิชาชีพนี้
ต้องได้รับการศึกษาอบรมมาโดยเฉพาะเพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่
สามารถเลือกศึกษา อบรมมาโดยเฉพาะ เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติหน้าที่ สามารถเลือกวิธีปฏิบัติงานที่เหมาะสม
เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ดังที่ระบุไว้ในจุดประสงค์การสอน
ครูต้องมีการฝึกฝนด้านการสอนอยู่เสมอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในการทำงานเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ และต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพ การที่ครูสามารถปฏิบัติงานการสอนได้ดีขึ้นอยู่กับความสามารถในการผสมผสานศาสตร์ว่าด้วยการสอนกับศิลปะของการสอนเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการสอนสูงสุด
เป็นเทคนิคการสอนแบบหนึ่ง
ที่มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลายท่าน เช่นกระบวนการสอนแบบเอื้ออาทร หรือใช้ว่า
การเสริมต่อการเรียนรู้ Scaffolding มาจากแนวคิดของไวก็อตสกี้ (Lev
Semenovich Vygotsky) เรื่องพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ
และการเสริมต่อการเรียนรู้
ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้และพัฒนาการ แนวทางที่ไวก็อตสกี้เสนอไว้ และมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก
คือ การเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) ซึ่งอธิบายไว้ดังนี้
การเสริมต่อการเรียนรู้ (Scaffolding) หมายถึง
บทบาทเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ที่ให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ
ตามสภาพปัญหาที่เผชิญอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหานั้นด้วยตนเองได้
โดยเป็นการจัดเตรียมสิ่งที่เอื้ออำนวย การให้การช่วยเหลือ แนะนำ สนับสนุน
ขณะที่ผู้เรียนกำลังแก้ปัญหาหรือกำลังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้เรื่องใด
เรื่องหนึ่ง
(ผู้เรียนกำลังอยู่ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ)
ทำให้ผู้เรียนต้องสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็น ขั้นตอน
และปรับการสร้างความรู้ความเข้าใจภายในตน
(Internalization) ให้กลายเป็นความรู้ความเข้าใจใหม่ภายในตนเอง
ซึ่งจะส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน ให้ก้าวไปสู่ขั้นหรือระดับพัฒนาการที่สูงขึ้นไป
ทำให้ผู้เรียนสามารถกำกับตนเองในการเรียนรู้
และมีความเชื่อมั่นในตนเองในการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันนักการศึกษาทั่วโลกเรียกร้องให้จัดการศึกษาด้วยการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
หรือที่ไทยเราใช้คำว่าการจัดการเรียนการสอนที่ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดจากข้อมูลการปฏิบัติของครูอาจารย์ในบ้านเราพบความลักลั่นเป็นปัญหาพอควร
จากความเข้าใจผิดเข้าใจไม่ครบถ้วนและเข้าใจไม่ตรงกันจนมีผู้ยกเป็นประเด็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญน่าจะเป็นการทำลายคุณภาพของการศึกษา ด้าน ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ครูไทยยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ถ่ายทอดความรู้เป็นผู้อำนวยความรู้
ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 แต่ยังไม่มีคู่มือประกอบแนวทางการพัฒนาทักษะครูให้พร้อมต่อการเรียนการสอนในยุคสมัยใหม่
ครูไทยจำนวนมากจึงเหมือนถูกปล่อยอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
ทั้งนี้แนวทางในการพัฒนาทักษะครูไทยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยทักษะ
7 ด้าน ได้แก่ 1.ทักษะในการตั้งคำถาม
เพื่อช่วยให้ศิษย์กำหนดรู้เป้าหมายและคิดได้ด้วยตนเอง 2.ทักษะที่สอนให้เด็กหาความรู้ได้ด้วยตัวเองและด้วยการลงมือปฏิบัติ 3.ทักษะในการคัดเลือกความรู้ ตามสภาพแวดล้อมจริง 4.ทักษะในการสร้างความรู้ ใช้เกณฑ์การทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องอย่างไร
เพื่อทำให้ศิษย์เกิดความเข้าใจอย่างชัดแจ้ง 5.ทักษะให้ศิษย์คิดเป็น
หรือตกผลึกทางความคิด 6.ทักษะในการประยุกต์ใช้
และ 7.ทักษะในการประเมินผล ซึ่งครูยุคใหม่จำเป็นต้องมีทักษะทั้ง 7 ด้านในการเป็นผู้อำนวยความรู้ให้เด็ก
แทนที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เหมือนก่อน
Mindset หรือ “กรอบความคิด” ในบางตำราอาจใช้คำว่า
โปรแกรมความคิด หรือกระบวนการทางความคิด สิ่งสำคัญคือ Mindset นั้นมีความหมายลึกซึ้งกว่าคำว่า “ความเชื่อ belief” ทั่วๆ ไป เพราะ
Mindset คือ “ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม” Mindset เป็นความเชื่อที่ฝังอยู่ในวิญญาณของมนุษย์
และไม่ได้แสดงออกชัดเจน เหมือนความเชื่อภายนอก
เป็นศูนย์กลางการประมวลความคิดทั้งหมดที่ไหลเข้ามาจากปัจจัยภายนอก
และส่งผลไปตามกลไกภายใน เหมือนกับโรงงานที่รับวัตถุดิบเข้าไปและให้ผลผลิตต่างกัน
ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรที่อยู่ในโรงงาน Mindsetคือ ความเชื่อ หรือความคิดที่ส่งผลถึงพฤติกรรม
และทัศนคติ ประสบการณ์ต่างๆ ที่เราได้รับ (Input) จะส่งผลต่อกรอบความคิด
(Mindset) และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนามุมมองต่างๆ
ของตัวเรา (Perspective) Mindset จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาศักยภาพของคนเราทุกคน
ในทุกเพศทุกวัย เพราะ Mindset เป็นตัวขับเคลื่อนในทุกแง่มุมของชีวิต
และ 5 ขั้นตอน
เปลี่ยน mindset ชีวิตเปลี่ยน 1. หยุดเปรียบเทียบ 2. ทุกอย่างไม่จำเป็นต้อง PERFECT 3. หาหลักฐานเสริมความคิด 4. ให้คำจำกัดความใหม่ของคำว่า "ผิดพลาด" 5. หยุดสนใจความคิดของคนอื่นมากเกินไป
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนต้องเกิดทักษะ ดังนี้ 1) ทักษะชีวิต
และการทำงาน 2) ทักษะการเรียนรู้
และนวัตกรรม และ 3) ทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี
โดยการลงมือปฏิบัติ
สิ่งที่จะสนับสนุนให้เกิดการอภิวัฒน์การเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จ คือ
การเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนรู้ การใช้ระบบสารสนเทศ (ICT) และการปฏิรูปการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้ ครูต้องยึดหลักสำคัญในการจัดการเรียนรู้
คือ 1) ออกแบบการเรียนรู้ในเรื่องใกล้เคียงชีวิตจริงมากที่สุด 2) จัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างกระบวนการ 3) การเรียนรู้ที่แท้จริงต้องขับดันด้วยฉันทะที่อยู่ภายในของนักเรียน
4) คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และ 5) ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้สนุกเพลิดเพลิน
ทั้งนี้ ครูต้องมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ R1: อ่านออก R2: เขียนได้ R3: คิดเลขเป็น และ C1: ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และทักษะในการแก้ปัญหา C2: ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม
C3: ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ C4: ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ C5: ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ C6: ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ C7: คือ ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น